การเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริม ผลิตเครื่องสำอางค์ หรือ ยา ตามมาตรฐานอุตาสาหกรรม หากคุณเป็นผู้ประกอบธุรกิจอาหารเสริม วิตามิน ยา สบู่ หรือเครื่องสำอางค์รายใหม่ ๆ ก็คงเลือกโรงงานผลิตอาหารเสริม โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์, โรงงานผลิตสบู่ แทนการลงทุนสร้างโรงงานเอง นั้นอาจเป็นเพราะว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่าและใช้เม็ดเงินลงทุนน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการต้องมาซื้อเครื่องจักรมาผลิตเอง แต่ทว่ากลับกัน ก็มีข้อเสียที่ผู้ประกอบการต้องระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพราะคุณเลือกโรงงานที่ไม่เหมาะสม หรือไม่ได้มาตรฐานแล้วละก็นั้นอาจทำให้คุณเสียเวลาและเงินทุนได้โดยไม่จำเป็น ดังนั้น ในการเลือกโรงงานรับผลิต คุณจะต้องพิจารณาเกี่ยวกับความเหมาะสมของโรงงานตั้งแต่เริ่มต้น โดยประเมินกับเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ความสามารถในการผลิต ราคา ความน่าเชื่อถือ และประสิทธิภาพของการผลิต เพื่อให้การเลือกโรงงานรับผลิตเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับความต้องการและเป้าหมายของธุรกิจ มาตรฐานโรงงานผลิตอาหารเสริม , โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์, โรงงานผลิตสบู่ มีอะไรบ้าง ? ขั้นตอนการสร้างโรงงานนั้นมีความละเอียดซับซ้อน เพื่อให้มีความปลอดภัยกับผู้บริโภคมากที่สุด จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่สินค้าสักตัวจะออกมาสู่ตลาด เหล่าผู้ประกอบการทั้งหลายจะต้องทำให้ผลิตภัณฑ์นั้นถูกต้องตามกฎหมาย ได้รับมาตรฐานโรงงาน เพื่อให้สินค้าเป็นที่ยอมรับและเป็นการการันตีว่ามีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค ฉะนั้นหากาผู้ประกอบการที่กำลังมองหา โรงงานผลิตอาหารเสริม , โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์ หรือ โรงงานผลิตสบู่ ควรมองหาโรงงานที่มีมาตรฐานต่าง ๆ เกี่ยวกับโรงงาน ดังต่อไปนี้ GMP (Good Manufacturing Practice) หลักเกณฑ์ชี้วัดมาตรฐาน โรงงานผลิตอาหารเสริม, โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์, โรงงานผลิตสบู่ GMP เป็นคําที่คุ้นเคยในวงการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยา เครื่องสําอาง และรวมถึงทางด้านผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้วย GMP (Good Manufacturing Practice) หมายถึง หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร เป็นเกณฑ์หรือข้อกําหนดขั้นพื้นฐานที่จําเป็น ในการผลิตและควบคุมเพื่อให้ผู้ผลิตปฏิบัติตาม และทําให้สามารถผลิตอาหารได้อย่างปลอดภัย โดยเน้นการ ป้องกันและขจัดความเสี่ยงที่อาจจะทําให้อาหารเป็นพิษ เป็นอันตราย หรือเกิดความไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค หลักเกณฑ์ GMP เป็นระบบประกันคุณภาพที่มีการปฏิบัติและพิสูจน์แล้วจากกลุ่มนักวิชาการด้านอาหารทั่วโลก ว่าสามารถทําให้อาหารเกิดความปลอดภัย เป็นที่เชื่อถือยอมรับจากผู้บริโภค โดยอาศัยหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงสัมพันธ์กัน ดังนั้นหากยิ่งสามารถปฏิบัติตามแนวทางที่กําหนดได้ทั้งหมด ก็จะทําให้อาหารมีคุณภาพมาตรฐาน และมีความปลอดภัยมากที่สุด หลักการของ GMP จึงครอบคลุมตั้งแต่สถานที่ตั้งของสถานประกอบการ โครงสร้างอาคาร โรงงานรับผลิตอาหารเสริม กระบวนการผลิตที่ดีมีความปลอดภัย และมีคุณภาพได้มาตรฐานทุกขั้นตอน นับตั้งแต่เริ่มต้นวางแผนการผลิต ระบบควบคุมตั้งแต่วัตถุดิบ ระหว่างการผลิต ผลิตภัณฑ์สําเร็จรูป การจัดเก็บ การควบคุมคุณภาพ และ การขนส่งจนถึงผู้บริโภค มีระบบบันทึกข้อมูล ตรวจสอบและติดตามผลคุณภาพผลิตภัณฑ์รวมถึงระบบการจัดการที่ดีในเรื่องสุขอนามัย (Sanitation และ Hygiene) ทั้งนี้เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ขั้นสุดท้ายมีคุณภาพและความปลอดภัยเป็นที่มั่นใจเมื่อถึงมือผู้บริโภค และ GMP ยังเป็นระบบประกันคุณภาพพื้นฐานก่อนที่จะพัฒนาไปสู่ระบบประกันคุณภาพอื่น ๆ ต่อไป เช่น HACCP (Hazards Analysis and Critical Control Points) และ ISO 9000 อีกด้วย มาตรฐานโรงงานผลิตอาหารเสริม ISO มาตรฐานคุณภาพระดับโลก ISO (International Standards Organization) หรือมาตรฐานไอเอสโอ เป็นมาตรฐานสากล หาก โรงงานผลิตอาหารเสริม ใดมี ISO แสดงว่าโรงงานผลิตอาหารเสริมนั้นมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งตัวเลขต่อท้าย ISO มีความหมายแตกต่างกัน โดยมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับโรงงานผลิตอาหารเสริม , โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์, โรงงานผลิตสบู่ นั้นคือ คือ ISO 22000 และ ISO 9001 และ ISO/IEC 17025 ISO 22000: Requirements for a Food Safety Management System หรือ ข้อกําหนดของระบบการบริหารงานความปลอดภัยด้านอาหาร เป็นข้อกําหนดเฉพาะสําหรับ ระบบการจัดการความปลอดภัยด้านอาหารในห่วงโซ่อาหาร โดยเพื่อให้เป็นมาตรฐานกลางที ครอบคลุมข้อกําหนดทุกมาตรฐานที่เกียวข้องกับคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร ที่มีการบังคับใช้ในทางการค้าสินค้าอาหารอยู่ในปจจุบัน ซึงจะทําให้ธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่อาหารมีมาตรฐานเดียวทีสอดคล้องกัน และเป็นมาตรฐานทีตรวจประเมินได้ เป็นทียอมรับในระดับสากล (Auditable standard) รวมทั้งจะช่วยผลักดันให้องค์กรให้ความสําคัญต่อการดําเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับข้อกําหนดของกฎหมาย ISO 9001 : 2008 เป็นระบบการบริหารคุณภาพที่มุ่งควบคุมการผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าและปฏิบัติตาม กฎเกณฑ์กฎระเบียบหรือข้อกำหนดคุณภาพ ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้กับทุกองค์การโดยไม่คำนึงถึงประเภทและขนาดของผลิตภัณฑ์ ISO/IEC 17025 หรือ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก.17025 เป็นข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถห้องปฏิบัตการในการดำเนินการทดสอบหรือสอบเทียบ ซึ่งจะประกอบด้วยข้อกำหนดด้านการบริหารงานคุณภาพและข้อกำหนดด้านวิชาการ โดยมาตรฐานนี้สามารถที่จะนำมาใช้ได้ กับทุกองค์กรที่มีการดำเนินกิจกรรมการทดสอบหรือสอบเทียบ มาตรฐานอาหารฮาลาล มาตรฐานจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย “เครื่องหมายฮาลาล” คือ เครื่องหมายที่คณะกรรมการฝ่ายกิจการฮาลาลของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดต่าง ๆ ได้อนุญาตให้ผู้ประกอบการทำการประทับ หรือแสดงลงบนสลาก หรือผลิตภัณฑ์ หรือกิจการใด ๆ โดยใช้สัญญลักษณ์ที่เรียกว่า “ฮาลาล” ซึ่งเขียนเป็นภาษาอาหรับภายในกรอบสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน หลังกรอบเป็นลายเส้นแนวตั้ง ใต้กรอบภายในเส้นขนานมีคำว่า “สนง.คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย” โดยเครื่องหมายดังกล่าวนี้ จะออกให้กับผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ฮาลาล และหรือเนื้อสัตว์ฮาลาลที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น จากมาตรฐานต่าง ๆ ที่โรงงานผลิตอาหารเสริม, โรงงานผลิตเครื่องสำอางค์, โรงงานผลิตสบู่ ควรมีแล้วคงทำให้เหล่าเจ้าของกิจการได้เห็นถึงขั้นตอน ว่าการที่จะจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารแต่ละตัวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งสำคัญนอกจากคุณภาพ ความปลอดภัยแล้ว ต้องคำนึงถึงกลุ่มลูกค้าเฉพาะอย่างมุสลิมที่มีความละเอียดอย่างมากในการบริโภคอาหารแต่ละชนิดเข้าไป ซึ่งมีความสำคัญไม่น้อย ไม่เพียงโรงงานที่คุณเลือกจะได้รับมาตรฐานเท่านั้น แต่ยังหมายถึงความยั่งยืนที่แบรนด์ของคุณจะสามารถยืนหยัดได้อย่างสง่างามเพราะไม่บกพร่องในเรื่องนี้ ที่สำคัญมีความหลากหลายทางด้านกลุ่มลูกค้าอีกด้วย อ้างอิง https://fic.nfi.or.th/foodsafety/upload/qs/pdf/ISO_22000%20-%202.pdf https://www.tisi.go.th/data/lab/pdf/17025_t.pdf https://www.acfs.go.th/halal/general.php